ประวัติ กศน.ตำบล
ประวัติ กศน.ตำบลเขาเจ็ดลูก
กศน.ตำบลเขาเจ็ดลูก
เดิมตั้งอยู่ที่ วัดนิคมราษฎร์บำรุง หมู่ 8
บ้านนิคม ปัจจุบันตั้งอยู่ที่
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลเขาเจ็ดลูก (หลังเดิม) เลขที่ 99 อบต.ตำบลเขาเจ็ดลูก หมู่ 7 บ้านหนองขนาก ตำบล
เขาเจ็ดลูก อำเภอทับคล้อ 66230 e-mail
mountain_j7@hotmail.com
4.2 ทำเนียบบุคลากร
ลำดับที่
|
ชื่อ – สกุล
|
ตำแหน่ง
|
ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง
|
1
|
นางสาวปภากาญจน์
จันทร์จินดา
|
ครูอาสา
|
ปี 2549 – 2553
|
2
|
นางสาวณัฐพร บัวโคกสูง
|
ครู กศน.ตำบล
|
1 กรกฎาคม 2553 – 1
เมษายน 2555
|
3
|
นางสาวทัศนี อ่อนละมัย
|
ครู กศน.ตำบล
|
2 เมษายน 2555 –15 พฤษภาคม
2556
|
4
|
นางวรรณา แสงบุญศรี
|
ครู กศน.ตำบล
|
16 พฤษภาคม 2556 – 31มกราคม 2558
|
5
|
ว่าที่ ร.ต.ยุทธภูมิ ทองสรวง
|
ครู กศน.ตำบล
|
1 กุมภาพันธ์ 2558 -ปัจจุบัน
|
4.3 อาณาเขต
กศน.ตำบลเขาเจ็ดลูกอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอทับคล้อ
ประมาณ 25 กม.ไปทางทิศเหนือ การตั้ง
ถิ่นฐานของชุมชนบริเวณสองข้างทางถนนในหมู่บ้านประมาณร้อยละ
20 ของตำบลมีทางหลวงหมายเลข 11 คือเส้นทางวังทอง-เขาทรายตัดผ่านทิศเหนือจรดใต้ประมาณ 7 กิโลเมตร
อาณาเขต
เขตติดต่อของตำบลเขาเจ็ดลูก
ทิศเหนือ เขตติดต่อ
ต.หนองพยอม อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร
ต.หนองพระ
อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร
ต.วังโพรง อ.เนินมะปราง
จ.พิษณุโลก
ทิศใต้ เขตติดต่อ
ต.วังหลุม อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร
ต.ทับคล้อ อ.ทับคล้อ
จ.พิจิตร
ต.เขาทราย อ.ทับคล้อ
จ.พิจิตร
ทิศตะวันออก เขตติดต่อ
ต.ท้ายดง อ.วังโป่ง
จ.เพชรบูรณ์
ทิศตะวันตก
เขตติดต่อ
ต.หนองพยอม อ.ตะพานหิน
จ.พิจิตร
ต.วังหลุม
อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร
4.4 สภาพชุมชน
สภาพทั่วไป
สภาพพื้นที่โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นพื้นที่ราบลุ่มสลับกับเนินมีภูเขาสูงติดกัน
7 ลูก ภูเขาที่สูงที่สุด ได้แก่ เขาเจ็ดลูก ภูเขาที่ต่ำที่สุด คือเขาพนมพา กรมทรัพยากรธรณี ได้สำรวจธรณีฟิสิกส์ทางอากาศ ในช่วงปี พ.ศ. 2527 – 2533 พบว่าบริเวณพื้นที่เขาพนมพาพบแร่ทองคำ
อยู่ภายในบริเวณภูเขา จึงทำให้มีชาวบ้านลักลอบขุดแร่ทองคำในปี พ.ศ. 2542
และยังพบว่ามีแร่ทองคำบริเวณทิศตะวันตกของพื้นที่ตำบลเขาเจ็ดลูก เขตติดต่ออำเภอวังโป่ง
จังหวัดเพชรบูรณ์ มีสายแร่ทองคำฝังตัวอยู่ใต้ดิน
เป็นสายแร่ควอตซ์ผสมแร่ประเภทคาร์บอเนต บริษัทอัครา
รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) จึงยื่นขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ทองคำ ใน ปีพ.ศ. 2538
ได้รับอนุญาต เมื่อวันที่ 19
มิถุนายน พ.ศ. 2543
ได้เปิดทำเหมืองใน ปี พ.ศ. 2544 ซึ่งนับว่าตำบลเขาเจ็ดลูก มีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญควรศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
ตำบลเขาเจ็ดลูก
มีเส้นทางคมนาคมที่สำคัญติดต่อกับตำบลเขาทราย คือทางหลวงหมายเลข 11 อินทร์บุรี-เชียงใหม่และทางหลวงหมายเลข
1301 หนองขนาก-วังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่อื่นๆ
ดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับตำบลหนองพระ อำเภอวังทรายพูน
ทิศตะวันออก ติดกับตำบลท้ายดง อำเภอวังโป่ง
ทิศตะวันตก ติดกับตำบลวังหลุม อำเภอตะพานหิน
ทิศใต้ ติดกับตำบลเขาทราย อำเภอทับคล้อ
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ของตำบลเขาเจ็ดลูก สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1)
พื้นที่ราบลุ่ม
เป็นลักษณะของพื้นที่ส่วนใหญ่ เหมาะกับการทำนา
2)
ที่ราบลุ่มเชิงเขา มีลักษณะเป็นพื้นที่เนินสูง
เหมาะกับการทำไร่
เนื้อที่/พื้นที่
ตำบลเขาเจ็ดลูกมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 58,240 ไร่หรือคิดเป็น 93,184 9ตารางกิโลเมตร สามารถแบ่งออกเป็นพื้นที่ต่างๆดังนี้
1)
พื้นที่ทำการเกษตร
ประมาณ 45,100 ไร่
2)
พื้นที่อยู่อาศัย/หน่วยงานราชการ/ธุรกิจขนาดเล็ก ประมาณ 8,000 ไร่
3)
พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ
ประมาณ 240 ไร่
4)
พื้นที่อุตสาหกรรมเหมืองแร่
ประมาณ 4,300 ไร่
5)
พื้นที่สาธารณะประโยชน์อื่นๆ ประมาณ 600 ไร่
ประชากร
ประชากรทั้งสิ้น 4,588 คน
เป็นชาย 2,303 คน
เป็นหญิง 2,285 คน
จำนวนครัวเรือน 1,247 ครัวเรือน
ภายใน กศน.ตำบลเขาเจ็ดลูก
มุมสำหรับอ่านหนังสือพิมพ์/อาเซียน
แสดงผลงานนักศึกษา
ชั้นเรียน
ที่อ่านหนังสือพิมพ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น